ไตรกลีเซอไรด์ คืออนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบาบางและเล็กมาก จึงไม่น่าแปลกที่ใครบางคนบอกว่า อยู่เฉยๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ แต่ไขมันชนิดนี้ยังเพิ่มพูนในร่างกายของเราได้จากอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย
อาหารประเภทไขมันโดยส่วนใหญ่จะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ นม หรืออาหารอื่นๆ ที่เรานึกไม่ถึงว่าจะมีไขมันซ่อนอยู่ด้วย เมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไป ร่างกายจะดูดซึมแล้วก็ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ผ่านเลือดส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ที่ต้องการพลังงาน ไตรกลีเซอไรด์ที่มากเกินไปจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน (body fat) แล้วพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจนร่างกายอ้วนขึ้น
โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังจากการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนทั่วไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง พบว่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์
การตรวจหาไตรกลีเซอไรด์
โดยการตรวจวัดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือด หลังจากที่ งดอาหารแล้วไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง คนปกติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่เกิน 150 มิลลิกรัม ต่อ เลือด 100 มิลลิลิตร
ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาส จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
1.จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ เช่นเดียวกับการมีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ทั้งนี้เพราะไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง
2.คนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นเวลานานจะทำให้ระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอล (HDL) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลที่ดีในเลือดลดต่ำลงด้วย ดังนั้นไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงร่วมกับเอชดีแอลต่ำ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
3.ในผู้หญิงระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนอยู่สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม
หมายเหตุ : ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่